โควิด19 เกิดจาก

โควิด19  ยังคงขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องไปในทั่วโลก  รวมถึงในบ้านเราเองด้วย มาทำความรู้จักโรค COVID-19 ให้กระจ่าง พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับความรุนแรงของโคโรนาไวรัส นี้ มีการแพร่ระบาดใหญ่เป็นวงกว้าง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 แล้วกว่า 200 ล้านราย 2  สำหรับประเทศไทย แม้จะมีการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างเข้มแข็งก็พบการติดเชื้อสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญในการยับยั้งและป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ได้รับเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้นั่นเอง

โรคโควิด-19 คืออะไร

โรคโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ SARS-CoV-2 เริ่มระบาดครั้งแรกที่มณฑลหู่เป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน โครงสร้างทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับโรคซาร์สที่แพร่ระบาดใน พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์สที่แพร่ระบาดใน พ.ศ. 2555

โควิด19 เกิดจาก

โคโรนาไวรัส เชื้อนี้มีมานานและหลายสายพันธุ์

โคโรนาเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินระบบหายใจ มีมานานกว่า 60 ปี แล้ว และจัดเป็นเชื้อไวรัสตระกูลใหญ่ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยชื่อโคโรนาก็มีที่มาจากลักษณะของเชื้อไวรัสที่รูปร่างคล้ายมงกุฎ (Corona เป็นภาษาละตินที่แปลว่ามงกุฎ) เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้มีสารพันธุกรรมเป็น RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบไปด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมันเป็นปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส อธิบายง่าย ๆ คือเป็นเชื้อไวรัสที่มีหนามอยู่รอบตัว จึงสามารถเกาะตัวอยู่ในอวัยวะที่เป็นเป้าหมายของเชื้อไวรัสได้

โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อที่ก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เนื่องจากตัวไวรัสมีสารพันธุกรรม RNA ซึ่งมีโอกาสกลายพันธุ์สูง สามารถติดเชื้อข้ามสปีชีส์กันได้ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีการรวมตัวของสัตว์อย่างหนาแน่น เช่น ตลาดค้าสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นต้นตอการแพร่ระบาดของโรคก็อาจจะมาจากสัตว์ปีก เช่น นก ค้างคาว ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ม้า วัว แมว สุนัข กระต่าย หนู อูฐ รวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานอย่างงู เป็นต้น

เชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-CoV-2 มีต้นตอมาจากไหน

จากการศึกษาทางพันธุกรรมของไวรัส และการเรียงลำดับของรหัสแต่ละตัวทำให้พบต้นตอของเชื้อ SARS-CoV-2 ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีจำนวนนิวคลีโอไทด์ที่เหมือนกันถึงร้อยละ 89.1 ของเชื้อ SARS-like coronaviruses ในค้างคาวที่เคยพบในประเทศจีน และในภายหลังก็มีข้อมูลที่ยืนยันว่า ต้นตอของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างโคโรนาไวรัสของค้างคาวกับโคโรนาไวรัสในงูเห่า กลายพันธุ์เป็นโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่แพร่เชื้อจากงูเห่ามายังคนได้

โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ระบาดในคนได้อย่างไร

โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อที่ไม่สามารถอยู่เดี่ยว ๆ ได้ แต่จะแฝงตัวอยู่ในละอองฝอยจากการไอ จาม และสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระ ดังนั้นการแพร่เชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ต้องได้รับเชื้อผ่านการสูดดมละอองฝอยขนาดใหญ่และละอองฝอยขนาดเล็กในอากาศ รับเชื้อเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือใครที่อยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1-2 เมตร ก็อาจจะติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดใหญ่ และฝอยละอองขนาดเล็กจากการไอ จาม รดกันโดยตรง หรือหากอยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อในระยะ 2 เมตรขึ้นไป ก็อาจติดเชื้อจากการสูดฝอยละอองขนาดเล็กได้เหมือนกัน ต้องมีการตรวจโควิด rt pcr

โรคโควิด-19 แพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร

  • ทางละอองฝอย ผ่านการไอจามรดกันในระยะ 1-2 เมตร
  • ทางการสัมผัส ผ่านการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เช่น น้ำมูก น้ำลาย ทั้งโดยทางตรง หรือทางอ้อมผ่านพื้นผิวสัมผัสที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ สำหรับสิ่งคัดหลั่งอื่น เช่น อุจจาระ พบว่ามีโอกาสแพร่เชื้อได้น้อยมาก
  • ทางอากาศ พบในบางกรณี เช่น ผู้ป่วยไอมาก ใกล้ชิดผู้ป่วยในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก  การทำหัตถการที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยขนาดเล็ก ได้แก่ การดูดเสมหะ การใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น

อาการของโรคโควิด-19 ในเด็กมีอะไรบ้าง

  • โรคโควิด-19 สามารถมีอาการได้หลากหลายตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย จนถึงปอดอักเสบรุนแรง หรือเสียชีวิต
  • ระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการของโรคประมาณ 4-5 วัน หลังสัมผัสโรค เด็กมักติดเชื้อจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ในบ้านที่ติดเชื้อหรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19
  • อาการของโรคโควิด-19 ที่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอแห้ง ๆ และอ่อนเพลีย อาจพบอาการปวดเมื่อย คัดจมูก น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือผื่นตามผิวหนัง สำหรับอาการทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง พบได้เล็กน้อย

โรคโควิด-19 มีอาการรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

  • ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง มักพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเด็กเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือวิกฤติ เช่น ปอดอักเสบรุนแรง ระบบหายใจหรือระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว รวมถึงภาวะอักเสบหลายระบบในเด็ก
  • ผู้ป่วยเด็กสามารถพบติดเชื้อแต่ไม่มีอาการได้ประมาณร้อยละ 4
  • ภาวะแทรกซ้อนพบได้น้อย มักพบในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น เด็กเล็กอายุน้อยกว่า  1 ปี  ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว  เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2

DoctorHairs.com

เซรั่มปลูกผม ปลูกผม ปลูกผมถาวร ศัลยกรรมผม แก้ปัญหาหัวล้าน ผมบาง ศัลยกรรมปลูกผม ปลูกผมถาวร ตัวช่วยในการแก้ปัญหาหัวล้าน ผมบาง