ปลูกผมอยู่ได้กี่ปี ศรีษะแบบไหนควรมาปลูกผม
สำหรับศัลยกรรมปลูกผม หรือการย้ายรากผมนั้น สามารถทำแล้วได้ผลจริง และปลูกแล้วเป็นผมเราจริง เพราะเป็นการย้ายจากผมเราอีกที่หนึ่ง ไปปลูกยังอีกที่หนึ่ง ถือว่าเป็นผมถาวรแล้วปลูกผมอยู่ได้กี่ปี เพราะปกติรากผมคนเราจะมีวงจรชีวิตที่จะต้องเข้าสู่ระยะพักทุก ๆ 6-10 ปี และระยะเวลาประมาณ 20 รอบ นั่นแปลว่า รากที่แข็งแรงตามปกติจะต้องมีอายุ ประมาณ 120-200 ปี ทั้งนี้แต่ละรอบวงจรขนาดอาจจะเล็กลงบ้าง ก็คือเราจะเห็นว่าผมเส้นเล็กลงตามวัยที่สูงขึ้น ดังนั้นรากผมที่ท้ายทอยที่ย้ายมาปลูกก็จะมีอายุตามนั้น เราอาจจะเรียกว่าเป็นผมถาวรก็ย่อมได้ เพราะมันอยู่นานเกินกว่าอายุขัยของคนเราซะอีก
ศีรษะล้านแบบไหน ควรมาปลูกผม
ศีรษะล้านจากผลของพันธุกรรม คนกลุ่มนี้จะเริ่มรู้ตัวตั้งแต่ยังอายุไม่มากนัก เพราะแนวผมบริเวณหน้าผากจะค่อย ๆ ร่นถอยไปด้านหลัง อาจจะเริ่มจากตรงใกล้ ๆ กับขมับทั้งสองข้าง หรือเริ่มจากช่วงกลางหน้าผากก็ได้ ถ้าสังเกตจากพ่อแม่หรือญาติพี่น้องก็จะเห็นรูปแบบของศีรษะล้านที่ค่อนข้างแน่นอน ลักษณะของเส้นผมก็จะมีบริเวณที่ยังคงมีความแข็งแรงพอที่จะย้ายมาปลูกใหม่ได้อยู่
ศีรษะล้านที่ไม่สามารถทำการปลูกผมได้
คนผมร่วงเนื่องจากเชื้อรา กลุ่มคนที่มีอาการแบบนี้เมื่อไปรักษาอาการเชื้อราให้หายขาด ผมก็จะหยุดร่วงไปเอง ไม่จำเป็นต้องปลูกผม
คนที่ขาดสารอาหารหรือมีพฤติกรรมชอบดึงผม ก็แก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีกว่า ในเพศหญิงก็มีปัญหาผมร่วงไม่น้อยเหมือนกัน แต่มักจะเป็นเพราะระดับฮอร์โมน เช่น กำลังตั้งครรภ์ หรือเป็นเพราะขาดสารอาหาร ทำให้ผมล้าน ผมบางกระจายเฉลี่ยทั่วทั้งศีรษะไม่ได้เจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่ง จึงแก้ไขด้วยการปลูกผมไม่ได้ ดังนั้นก่อนปลูกผมต้องหาต้นเหตุก่อนมาปลูกผม
ภาวะแทรกซ้อนในการปลูกผม
การปลูกผมด้วยวิธีการศัลยกรรมมีภาวะแทรกซ้อนที่ควรระมัดระวังและผลข้างเคียงที่อาจพบได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดมาจากการติดเชื้อ เช่น
- เลือดออกมากผิดปกติ
- เกิดการติดเชื้อบนหนังศีรษะ
- หนังศีรษะบวม
- มีรอยช้ำบริเวณรอบดวงตา
- มีแผลตกสะเก็ดหรือน้ำเหลืองที่บริเวณหนังศีรษะที่ทำการปลูกผม หรือบริเวณที่ผมถูกย้ายไปปลูกที่อื่น
- รู้สึกชาหรือไม่มีความรู้สึกบริเวณหนังศีรษะที่ทำการปลูกผม
- มีอาการคัน
- แผลเป็นบนหนังศีรษะจากการปลูกผม
- เกิดอาการอักเสบหรือการติดเชื้อที่ต่อมขุมขน (Folliculitis)
การเตรียมตัวก่อนปลูกผม
ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการปลูกผมด้วยวิธีการศัลยกรรมนี้ สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำคือแพทย์จะต้องระบุสาเหตุของอาการศีรษะล้าน เพื่อนำมาผลที่ได้มาวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องใช้การปลูกผมเพื่อแก้ปัญหาหรือไม่ หลังจากทราบสาเหตุแล้ว พร้อมกับทั้งผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้านและศัลยแพทย์ตัดสินใจจะใช้การปลูกผมเพื่อรักษาอาการดังกล่าว ศัลยแพทย์จะแนะนำขั้นตอนในการเตรียมตัวเข้ารับการปลูกผม ผู้เข้ารับการปลูกผมจะต้องทำตามอย่างเคร่งครัดเพื่อเลี่ยงการเกิดปัญหาในขณะทำการปลูกผม และภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบภายหลัง
- แจ้งแพทย์และพยาบาล หากมีโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา ยาที่รับประทานเป็นประจำ รวมทั้งวิตามินอาหารเสริมที่รับประทานอยู่ทุกชนิด
- งดยาหรือวิตามินบางชนิดที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น แอสไพริน เฮปพาริน วิตามินอี น้ำมันปลา โสม แปะก๊วย ฯลฯ อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด
- งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 48 ชม. ก่อนผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอในคืนก่อนผ่าตัด ควรนอนอย่างน้อย 6 ชม.
- รับประทานอาหารเช้าได้ตามปกติ แต่ไม่ควรเป็นมื้อใหญ่ งดชากาแฟในตอนเช้า ให้รับประทานยาประจำเช่นยาเบาหวานความดันได้ตามปกติ
- อาบน้ำล้างหน้าสระผม ทำความสะอาดร่างกาย ด้วยแชมพูหรือสบู่ฆ่าเชื้อตามคำแนะนำของแพทย์ ก่อนเข้านอนและตอนเช้าของวันผ่าตัด
- สวมเสื้อผ้าที่สบาย ใส่และถอดง่าย เช่น เสื้อที่มีกระดุมติดด้านหน้าจะมีความเหมาะสมในการเปลี่ยนกลับบ้าน ไม่กระทบแผลเมื่อใส่กลับ
- ต้องมีญาติ หรือเพื่อนมาด้วย เพื่อความสะดวกในการรับกลับบ้าน
- เตรียมหมวกทรงหลวม หรือผ้าโพกศีรษะ ติดมาด้วย เพื่อสวมใส่ปกปิดแผลหลังผ่าตัดตามต้องการ
การดูแลตัวเองหลังทำ
- ไม่ให้โดนน้ำและไม่ให้สระผม 2 วัน
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และงดกลุ่มยา aspirin 1 สัปดาห์
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-3 วัน หลังผ่าตัด
- ควรนอนยกศีรษะสูง 30 องศา หรือหนุนหมอน 2-3 ใบ เพื่อลดอาการปวดบวมในช่วงแรก เละใช้หมอนใบเล็กรองต้นคอ เพื่อลดแรงกดที่แผลบริเวณท้ายทอย
- ควรสวมหมวก เวลาออกจากที่พัก เพื่อป้องกันแสงแดด และฝุ่นควัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์
- ไม่ควรแกะ เกา บริเวณสะเก็ดและกราฟผม เพราะจะทำให้กราฟหลุด และอาจติดเชื้อได้